ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ (Hazardous Waste)
ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ คือ ขยะวัสดุที่ไม่ใช้แล้วผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพหรือภาชนะบรรจุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุสารเคมีอันตรายชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นสารพิษสารไวไฟสารเคมีที่กัดกร่อนได้ สารกัมมันตรังสีและเชื้อโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่ายไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น
วิธีง่ายๆที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะเป็นขยะอันตราย
สังเกตฉลากหรือภาพสัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุ เช่น
สารไวไฟ : จะพบเห็นบนภาชนะที่บรรจุก๊าซหุงต้ม น้ำมัน เชื้อเพลิง ทินเนอร์ ผงกำมะถัน
สารมีพิษ : จะพบเห็นบนภาชนะบรรจุประเภท น้ำยาล้างห้องน้ำ สารฆ่าแมลง สารปรอทใน
หลอดฟลูออเรสเซนต์
สารกัดกร่อน : จะพบเห็นบนภาชนะบรรจุน้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์หรือภาชนะบรรจุน้ำยาทำความ
สะอาด
เราจะช่วยลดปัญหาขยะพิษได้อย่างไร
1. เลิกหรือเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะพิษ คือ
- เลิกหรือเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตราย เช่น ถ่านนิเกิล แคดเมียม หรือถ่านราคาถูก ไม่ได้มาตรฐานโดยเลือกใช้ถ่านอัลคาไลน์หรือถ่านไฟฉายชนิดอัดประจุได้ที่ระบุข้อความ NO MERCURY ADDED แทน
- เลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพรแทนสารเคมีสังเคราะห์ เช่น การเลือกน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำหรือยากันยุงที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ
- เลือกใช้สินค้าที่มีมาตรฐานในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสังเกตจากฉลากเขียวหรือฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น ถ่านไฟฉายชนิดอัดประจุได้หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานสูง
2.คิดก่อนทิ้งและทิ้งอย่างระมัดระวั'
- ก่อนทิ้งควรพิจารณาขยะในมือของท่านว่าเป็นขยะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมีพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
- จัดเก็บขยะอันตรายในภาชนะบรรจุเดิมเพื่อป้องกันการแตกหัก เช่น เมื่อเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ใหม่ให้เก็บหลอดเก่าในกล่องเหมือนเดิมหรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นต้น
- ขยะอันตรายที่เป็นของเหลวควรแยกประเภทไม่เทรวมกันโดยเก็บไว้ในภาชนะที่ไม่รั่วซึมอยู่ในที่ร่มและให้พ้นมือเด็กแล้วนำไปทิ้งในภาชนะหรือสถานที่ที่กำหนดเพื่อรอการเก็บรวบรวมและนำไปกำจัดอย่างปลอดภัย
3.แยกทิ้งให้ถูกถัง ทิ้งขยะพิษเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารกำจัดแมลง ภาชนะบรรจุสารเคมีฯลฯ ในถังรองรับขยะอันตรายที่มีสีแดงเท่านั้นไม่ทิ้งขยะอันตรายปะปนไปกับขยะทั่วไปและไม่นำไปเผา
ฝังดินหรือทิ้งลงท่อระบายน้ำเพราะจะทำให้สารพิษมีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้
4.ติดต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับขยะอันตรายเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ให้แยกขยะอันตรายที่เป็นของเหลวและเก็บในภาชนะบรรจุเดิม ส่วนของแข็งเก็บในภาชนะที่ไม่รั่วซึมและทำเครื่องหมายให้ชัดเจน ห้ามเทขยะอันตรายที่เป็นของเหลวหลายชนิดรวมกัน
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ (๒๕๕๓)
คิดก่อนทิ้งสักนิด ชีวิตจะปลอดภัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น